การทำลำไยนอกฤดู

การทำให้ลำไยลูกโตผิวสวย

การทำให้ลำไย้ลูกโตผิวสวย



การทำให้ลำไยลูกโตและผิวสวยนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลและบำรุงต้นไม้ให้เหมาะสม เพราะผลไม้ที่มีขนาดใหญ่และผิวสวยจะมีค่าและขายได้ในราคาที่ดีกว่า ที่สำคัญคือต้องมีการดูแลรักษาให้ถูกต้อง 

ทคนิควิธีการทำให้ผลไม้ลูกโตผิวสวย มีดังนี้ การให้น้ำ:ให้น้ำเพียงพอและเหมาะสมเพราะน้ำมีส่วนสำคัญ ในการทำให้ผลไม้ลูกโตและทำให้ผลไม้ที่มีคุณภาพลูกโตผิวสวย โดยตรวจสอบความชื้นในดินอยู่เสมอ ให้น้ำในปริมาณที่พอเหมาะไม่ให้น้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไปควรให้น้ำในปริมาณพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้ดินแห้งและได้รับน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้รากเน่าได้ ควรให้น้ำเป็นระยะๆ แต่บ่อยๆ ในช่วงที่มีฝนน้อยๆ หรือแล้ง 

การใส่ปุ๋ย: การใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างผลไม้ที่มีคุณภาพดี เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นไม้และผลควรให้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุอาหารทั้งหมดเช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นไม้ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของขนาดผล และสร้างธาตุอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของผลไม้ อย่างไรก็ตามต้องใช้ปริมาณที่เหมาะสมและตามช่วงของขนาดผล เช่นเมื่อขนาดของลูกผลเมื่อมีขนาดเล็กอยู่ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนสูง เช่นสูตร 25-7-7 ช่วงขนาดผลเล็กเริ่มโต สูตร 15-15-15 ขนาดผลโต ก่อน เก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 หรือ 8-24-24 
และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นไม้ ทำให้ลูกโตไวขึ้น และผิวสวย 

ตัดแต่งกิ่งไม้ที่ไม่สมบูรณ์และกิ่งที่เสียหายออกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังส่วนอื่นของต้น และเพื่อให้แสงแดดและอากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น เพื่อให้ต้นไม้มีพื้นที่เพียงพอในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพดี ตัดแต่งกิ่งที่เสียหายหรือเกิดโรคเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ต้นไม้และผลไม้สมบูรณ์แข็งแรงและช่วยลดการแพร่กระจายธาตุอาหารไปที่กิ่งที่ไม่จำเป็น การให้แสงเพียงพอจะช่วยให้ผลไม้มีสีสันสวยงาม และผิวสวย

การกำจัดแมลงและโรค: ควรตรวจสอบต้นไม้และผลไม้อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบว่ามีแมลงหรือโรคอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะแมลงสามารถก่อให้เกิดโรคและความเสียหายกับผล หาวิธีการกำจัดที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเสียหายต่อต้นไม้และผลไม้ที่จะทำให้ผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ

การตัดแต่งผลเมื่อมีลูกผลดกมากเกินไปออกบ้างเพราะถ้าไม่ตัดแต่งออกจะทำให้ลูกผลมีขนาดเล็ก ควรตัดแต่งผลไม้เมื่อผลอายุประมาณครึ่งหนึ่งของอายุที่คาดว่าจะเก็บผลผลิต จะช่วยให้ผลไม้เจริญเติบโตมีลูกผลที่มีขนาดใหญ่ ต่อไป และมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์.
อ่านต่อ»

ประโยชน์ของแคลเซียม โบรอน

ประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน



แคลเซียมโบรอนคือธาตุที่มีความสำคัญต่อพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ขยายขนาดผล กระตุ้นการแตกตาดอก ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พืชแข็งแรง ใบเขียว 

แคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี 

โบรอน เป็นตัวที่ช่วยในกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาลให้กับพืช หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคือ ส่วนยอดและใบอ่อน จะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหน้ากร้าน และตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น ตายอดตายแล้วมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายเหมือนกัน ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งก้านใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนาบางทีผลแตกเป็นแผลได้ บรอน มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดึงดูดธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสงการย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณค่าทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง ในขณะที่ช่วยการออกดอกและผสมเกสร ช่วยในการติดผล และเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายฮอร์โมนการใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนในการแบ่งเซลล์

แคลเซียมโบรอน

ยังช่วยในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับพืช ผลไม้ ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและผล เพิ่มขนาดของผลผลิตให้มีคุณภาพและใหญ่มากขึ้น กระตุ้นการแตกตาของดอก อีกทั้งยังช่วยให้พืชนั้นมีการเจริญเติบโต ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น แคลเซียมโบรอน นับเป็นธาตุอาหารช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็งแรงแล้วยังช่วยพืชออกดอกออกผลได้ง่าย ขั้วเหนียว สีสวย เนื้อแน่น รสชาติดี ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อ»

การทำแคลเซียมโบรอน

การทำแคลเซียมโบรอน





การทำแคลเซียมโบรอนพี่น้องชาวสวนลำไยเสามารถทำแคลเซียมโบรอนไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนในการผลิตในการลำไยนอกฤดู ชึ่งจะมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่าท้องตลาดโดยทั่วไปมาก(ตามท้องตลาดแคลเซียมโบรอน ขาย ลิตรละ 300-400 บาท) สามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการใช้ส่วนผสมของแคลเซียมไนเตรท ซึ่งก็คือปุ๋ย 15-0-0 ในอัตรา 1,200 กรัม(12 ขีด)ต้นทุน 15-0-0 กิโลกรัมละ 85 บาท โบรอนพืช หรือรู้จักกันโดยทั่วไปในนามกรดบอริก 400 กรัม (4 ขีด) ต้นทุนครึ่งกิโลกรัม ราคา 100 บาท น้ำเปล่า 20 ลิตร ถ้ามีอาหารเสริม เช่นแมกนีเซียม สังกะสี ก็ใส่ไปด้วยก็ได้ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่  

วิธีและขั้นตอนในการทำแคลเซียมโบรอนไว้ใช้เอง ใช้น้ำเปล่าจำนวน 20 ลิตรเทลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทคือปุ๋ยสูตร 15-0-0 ลงไปในน้ำเปล่า แล้วคนให้ปุ๋ยละลายให้หมด แล้วเติมโบรอนพืชลงไป คนให้ละลายผสมปนกันไป เสร็จแล้วนำแคลเซียมโบรอนที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วนำไปบรรจุใส่ภาชนะที่ปิดฝามิดชิดเก็บไว้ในที่ร่มที่ไม่ร้อนจนเกินไปเพื่อเก็บรักษาไว้ และ สามารถนำไปใช้ได้ทันทีที่เหลือสามารถนำไปใข้ได้ในโอกาสต่อไป        

วิธีการใช้แคลเซียมโบรอนที่เราทำไว้ไปฉีดพ่น ใช้แคลเซียมโบรอนจำนวน 300 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นทั้งบนใบและใต้ใบ ทุก 10 วัน ในระยะการแตกตาดอก การออกดอกทำให้ขั้วดอกเหนียวผสมเกสรติดง่าย ผลดก ในระยะลำไยลูกเล็กป้องกันผลร่วง และในช่วงที่ต้องการให้ผลลำไยมีการขยายขนาดให้ลูกผลโต ป้องกันผลร่วง ผลแตก

 คุณสมบัติและประโยชน์ของ แคลเซียมโบรอน ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ขยายขนาดผล กระตุ้น การแตกตาดอก ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ทำ ให้พืชแข็งแรงช่วยเคลื่อนย้ายฮอร์โมน ควบคุมการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้เป็นไปอย่างสมดุล ช่วยทำให้ผสมเกสรติดง่าย ผลดก ช่วยในการขยายผลให้ผลใหญ่ เนื้อแน่น เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มรสชาติดีให้กับผลผลิต ทำให้ขั้วดอกเหนียว ป้องกันผลร่วง ผลแตก ป้องกัน เพิ่มการแตกตาดอก-ยอด เสริมสร้างความแข็งแกร่งของผนังเซลล์.เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที

อ่านต่อ»

โรคพุ่มไม้กวาดลำไย


โรคพุ่มไม้กวาด



โรคพุ่มไม้กวาดลำไยสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Mycroplasma ไรลำไย เป็นตัวการทำให้ช่อใบที่แตกออกใหม่ เกิดอาการม้วนหงิกเป็นพุ่มไม้กวาดและจากไรดูดกินน้ำเลี้ยงบนส่วนต่างๆของพืชแล้วปล่อยสารพิษเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืช ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติแตกยอดฝอยเป็นกระจุกคล้ายมัดไม้กวาด อาการปรากฎที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออกกลายเป็นกระจุกสั้นๆขึ้นตามส่วนยอด หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย

แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรค โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ย,ไรเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่นๆ ได้  

การป้องกันและกำจัด ใช้กำมะถันผง (กำมะถันผงไบเออร์ 80% WP)อัตรา 400 กรัม หรือ อะมีทราช (ไมแทค 20% EC)อัตรา 400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นกำจัด ไร พาหะของโรคพุ่มไม้กวาด สำหรับต้นที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด

อ่านต่อ»

ราคาลำไยนอกฤดูวิกฤตไวรัสโควิค-19


ราคาลำไยนอกฤดูไวรัสโควิค-19



ผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิค19 ในเมืองอูฮั่นประเทศจีนและกำลังระบาดอีกหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ราคาลำไยนอกฤดู ที่เก็บผลผลิตในช่วงตั้งแต่ต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมาถึงตอนนี้ราคาตกต่ำ เป็นอย่างมาก แทบจะไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ทำให้พี่น้องชาวสวนลำไยเดือดร้อนและรู้สึกแย้ไปตามๆกัน จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิค19 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงเพราะลำไยนอกฤดูส่วนใหญ่ตลาดส่งออกที่สำคัญคือประเทศจีน เมื่อจีนหยุดการนำเข้าจึงทำให้ราคาตกต่ำลงอย่างมาก โดยราคาเบอร์ 1-2 เหลือแค่ กก. 15-16 บาทเท่านั้น 

เมื่อคิดต้นทุนการผลิตและแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตแทบจะไม่เหลืออะไร นอกจากทำใจและอยู่ในสภาวะจำยอมจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ยังดีอยู่หน่อยที่ยังขายเป็นลำไยร่วงเข้าโรงงานอบแห้งได้ โดยลำไยร่วงราคา AA 24,A 15,B 6,C 1.5 จากการวิเคราะห์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่า สถานการณ์ยังคงยืดเยื้อไปอีก 6 เดือน หรือถึงเดือนมิถุนายน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ผักผลไม้ลดลง กว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดไปจีนในปี 2562 หรือคิดเป็นมูลค่า 5,278 ล้านบาท นอกจากลำไยแล้วพืชผลไม้อื่นๆก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน เช่นมังคุดและทุเรียน หวังว่าเมื่อถึงช่่วงลำไยในฤดูทุกอย่างคงจะดีขึ้น สู้ๆนะครับพี่น้องชาวสวนลำไย.
อ่านต่อ»

การปลูกลำไยระยะชิด


การปลูกลำไยระยะชิด



การปลูกไม้ผลระยะชิดเป็นระบบการปลูกรูปแบบใหม่ เป็นรูปแบบที่นิยมในประเทศ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ยุโรป อเมริกาและ ออสเตรเรีย การทําสวนลําไยแบบดั้งเดิมเกษตรกรจะ ปล่อยให้ต้นลําไยมีทรงพุ่มสูงใหญ่ โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ ด้านล่างออก ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ต้นลําไยมีการเจริญ ในด้านส่วนสูงมากขึ้น ทําให้ไม่สะดวกต่อการจัดการและ การปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่โดยการตัด ช่อผลทําได้ยาก ในส่วนเกษตรกรที่คิดจะสร้างสวนใหม่ เพื่อทดแทนสวนลําไยเก่าที่เสื่อมโทรมนั้น ควรปลูกลําไย ทรงเตี้ยระยะชิด 

ข้อดีของลําไยทรงเตี้ยระยะชิด

1. ให้ผลตอบแทนเร็ว ปลูกเพียง 2 ปีก็ให้ผลผลิต 
2. ให้ผลผลิตต่อไร่ในระยะแรกสูง 
3. ลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะด้านแรงงาน 
4. สะดวกในการจัดการ เช่น การดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต โดยการตัดแต่งช่อผล

การปลูกลําไยทรงเตี้ยระยะชิด  เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมในการทําสวน ที่ให้ประโยชน์คุ้มค่า มีวิธีการไม่ยุ่งยาก เกษตรกรสามารถ ทําได้เอง ดังนี้

1. การกําหนดระยะปลูก เกษตรกรสามารถกําหนดระยะปลูกได้ตามความต้องการ อาจเริ่มตั้งแต่ระยะระหว่างต้น 2 - 6 เมตร และระหว่างแถว 2 - 6 เมตร 

2. การควบคุมทรงฟูมลําไย หลังปลูก 1 ปี ตัดแต่งต้นให้เป็นทรงฝาชีหงาย ใช้เชือกผูก ดังกิ่ง เพื่อกระตุ้นการแตกกิ่งที่เจริญในแนวนอน

3. การบังคับการออกดอก เมื่อต้นอายุ 2-2 12 ปี สามารถบังคับให้ออกดอก โดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 10-20 กรัมต่อ ตารางเมตรหว่านรอบพื้นที่ทรงพุ่ม ซึ่งต้นหนึ่งจะใช้สาร ประมาณ 30-50 กรัม ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ต้นลําไยจะเริ่ม ออกดอก ช่วงนี้หมั่นดูแลรักษา โดยการให้น้ําสม่ําเสมอและให้ ธาตุอาหารโดยอาศัยค่าจากการวิเคราะห์ดิน 

 การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตของเกษตรกร ที่ปลูกลําไยระยะชิด 

4. ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวพลพลีย หลังการเก็บเกี่ยวต้องตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มโดย ใช้ทรงฝาชีหงาย โดยตัดกิ่งกระโดงเก่าให้เหลือตอไว้ หลัง จากนี้ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็จะเริ่มแตกใบใหม่ ปล่อยให้ลําไย แตกใบประมาณ 3-4 ชุด ก็สามารถบังคับให้ลําไยออกดอก ได้ในระยะต่อไป 

ผลผลิตตอบแทนของการปลูกลําไยทรงเตี้ยระยะชิด ซึ่งจะพบว่าต้นลําไยที่มีอายุ 3 ปี จะให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 500 กิโลกรัม ต้นอายุ 4 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ และในปีที่ 5 จะให้ผลผลิตถึง 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งค่าเฉลี่ยของลําไยทั่วไปประมาณ 800 กิโลกรัมต่อไร่
ขัอมูล:ศุนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อ่านต่อ»

ลําไย พันธุ์สีชมพู


ลําไย พันธุ์สีชมพู



ลําไยพันธุ์สีชมพูเป็นลำไย ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก, เนื้อมีสีชมพูเรื่อๆ เป็นพันธุ์ที่มีรสชาดดีมากที่สุด นิยมรับประทานในประเทศ พุ่มต้นสูงโปร่ง กิ่งเปราะง่าย การเจริญเติบโตดี ไม่ทนแล้ง เกิดดอกติดผลง่ายปานกลาง การติดผลไม่สม่ำเสมอ ช่อผลยาวผลขนาดใหญ่ปานกลาง ขนาดผลเฉลี่ย กว้าง 2.9 เซนติเมตร หนา 2.6 เซนติเมตรและยาว 2.7 เซนติเมตร ทรงผลค่อนข้างกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลอมแดง ผิวเรียบ มีกระสีคล้ำตลอดผล เปลือกหนา แข็งและเปราะ เนื้อหนาปานกลาง นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ ยิ่งผลแก่จัดสีของเนื้อยิ่งเข้ม เนื้อล่อน รสหวาน กลิ่นหอม ปริมาณน้ำตาลประมาณ 21 -22 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดค่อนข้างเล็ก
อ่านต่อ»

ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว


ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว


ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวหรืออีเบี้ยวเขียว ลักษณะผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน เป็นลำไยพันธุ์หนักที่เก็บผลผลิตได้ช้ากว่าพันธุ์อื่นๆ เจริญเติบโตได้ดี ทนแล้ง แต่มักอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ออกดอกยาก มักเว้นปี สีของผลเมื่อมีขนาดเล็กมีสีเขียว 

พันธุ์เบี้ยวเขียว แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เบี้ยวเขียวก้านแข็ง (ป่าเส้าลำพูน)และ เบี้ยวเขียวก้านอ่อน (เชียงใหม่)เบี้ยวเขียวก้านแข็งให้ผลไม่ดก ขนาดผลใหญ่มากแต่ติดผลน้อยอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ไม่ค่อยนิยมปลูก ส่วนเบี้ยวเขียวก้านอ่อนให้ผลดกเป็นพวงใหญ่ผลมีขนาดใหญ่ ขนาดผลเฉลี่ย กว้าง 3.0 เซนติเมตร หนา 2.6 เซนติเมตรและยาว 2.8 เซนติเมตร ทรงผลกลมแบนและเบี้ยวมากเห็นได้ชัด ผิวสีเขียวอมน้ำตาลอ่อนออกเขียวเล็กน้อยมีบ่าผล ไม่เท่ากัน ผิวเรียบ เปลือกหนาและเหนียว เนื้อหนา กรอบสีขาว ค่อนข้างใส ล่อนง่าย มีน้ำน้อย รสหวานแหลม กลิ่นหอม ปริมาณน้ำตาลประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดค่อนข้างเล็กโดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมบริโภคสด

ลำไยพันธุ์นี้จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4-5 ปีหลังการปลูก จะออกดอกในเดือนมกราคม และเราสามารถเก็บผลผลิต ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวได้ ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 

 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO ได้ขึ้นทะเบียนลำไยเบี้ยวเขียวลำพูน เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ขอบเขตการผลิตพื้นที่ 6 ตำบลของอำเภอเมืองลำพูน ได้แก่ ต.หนองช้างคืน ต.อุโมงค์ ต.ประตูป่า ต.เหมืองง่า ต.ริมปิง และ ต.ต้นธง จังหวัดลำพูน ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน จะผลักดันให้มีการติดตราสัญลักษณ์ GI หลังจากที่มีประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI แล้ว หากมีการติดตราสัญลักษณ์จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ได้
อ่านต่อ»

บทความ

การปลูกลำไยระยะชิด บำรุงลำไยผลกลาง ลำไยติดผลได้ 4 เดือน 1 เดือนหลังจากราดสาร 4 เดือนหลังจากใส่สาร การกำจัดหนอนม้วนใบ การกำจัดหนอนเจาะผล การกำจัดเพลี้ยหอย การกำจัดแมลงค่อมทอง การกำจัดแมลงศัตรูลำไย การกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดลำไย การตัดแต่งกิ่งลำไย การทำลำไยนอกฤดู การทำลำไยนอกฤดูการพ่นสารทางใบ การทำแคลเซียมโบรอน การทำให้ลำไยลูกโตผิวสวย การทำให้ลำไยออกดอก การปลูกลำไย การปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูลำไย การราดสารลำไยทางดิน การราดสารโปแตสเซียมคลอเรตทางดิน การใส่ปุ๋ยช่วงแทงช่อดอก การให้ปุ๋ยลำไย การให้ปุ๋ยลำไยเมื่อลูกผลเล็ก การให้ปุ๋ยลำไยในแต่ละช่วง ชาวสวนลำไยสะอื้น ดอกลำไยเป็นตัวเมียเยอะ บำรุงผลกลาง ประวัติความเป็นมาของลำไย ประโยชน์ของการแต่งกิ่งลำไย ประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน ปัจจัยทำที่ให้ลำไยออกดอกได้ดี พันธุ์ลำไย พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูก พันธุ์ลำไยลูกใหญ่ พันธุ์ลำไยอีดอร์ พ่นสารทางใบลำไย ราคาลำไยนอกฤดูไวรัสโควิค-19 ลำไยนอกฤดูกับผลตอบแทน ลำไยนอกฤดูออกดอกดี ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ลำไยออกดอกใส่ปุุ๋ย ลําไย พันธุ์สีชมพู ลําไยพันธุ์อีดอ วิธีตัดแต่งกิ่งลำไย วิธีเปิดตาดอก ลำไย สูตรเปิดตาดอกลำไย สูตรเปิดตาดอกลำไย 1 หนอนคืบลำไย หนอนคืบและวิธีกำจัด หนอนม้วนใบ หนอนเจาะผลลำไย ฮอร์โมนบำรุงลำไย ฮอร์โมนอาหารเสริม เทคนิคทำให้ลำไยเป็นดอกตัวเมียเยอะ เปิดตาดอก เปิดตาดอกลำไย เปิดตาดอกลำไยให้ออก เพลี้ยหอย เพลี้ยหอยและวิธีกำจัด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งและการกำจัด แคลเซียมโบรอน แมลงค่อมทอง โรคพุ่มไม้กวาด ใ่ส่ปุ๋ยลูกขนาดเบอร์บี