ประวัติความเป็นมาของลำไย


ประวัติความเป็นมาของลำไย



ลำไย เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ลำไย มีชื่อเรียกพื้นบ้านทางภาคเหนือ ว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Nephelium canb.หรือ Euphorialongana,Lamk.วงศ์ Sapedadceaeทีน(Native) ลำไยเป็นไม้ผลทรงพุ่ม ทรงพุ่มแ่ผ่กว้าง 6-8 เมตร มีลำต้นเจริญเต็มที่สูงประมาณ 10 ถึง 12 เมตร ลำไยเป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อนซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีน แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏใน วรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟู เกียน

ลำไยได้แพร่พันธุ์เข้าไปในปลูกประเทศอินเดีย, ศรีลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่25 ในประเทศไทยทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" หรือลำไยธรรมดา ในสมัยรัชกาลที่6 มีชาวจีนนำพันธุ์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจำนวน5ต้น ในปัจจุบันบัญญัติชื่อพันธุ์เบี้ยวเขียว) ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3ต้น โดยปลูกที่สวนเจ้าสบาย ณ ที่ประทับของเจ้าดารารัศมี 

หลังเสด็จนิวัติกลับมาประทับถาวรเมื่อพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5 เสด็จสวรรคต และส่งมาปลูกที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2ต้น หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่5

ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในภาคเหนือและพื้นที่ปลูกที่ใกล้เคียง พื้นที่ปลูกลำไยเป็นจำนวนมากได้แก่จังหวัดลำพูน มีสภาพภูมิประเทศเป็นดินทราย อยู่ในที่ลุ่มของลำน้ำหลายสาย เหมาะแก่การเจรฺญโตได้ดี จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50 เข่ง 

พัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูน ถ้านับจากการเสด็จกลับเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ. 2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ. 2511 มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม90ปี จนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง157,220ไร่ ตอนนี้ลำไยสามารถปลูกได้ในหลายพื้นพี่ตามภาคต่างๆของประเทศไทยเช่นจังหวัดจันทบุรี พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ก็คือพันธุ์ลำไย อีดอ.
แหล่งอ้างอิง:https://th.wikipedia.org/wiki/ลำไย

0 ความคิดเห็น:

บทความ

การปลูกลำไยระยะชิด บำรุงลำไยผลกลาง ลำไยติดผลได้ 4 เดือน 1 เดือนหลังจากราดสาร 4 เดือนหลังจากใส่สาร การกำจัดหนอนม้วนใบ การกำจัดหนอนเจาะผล การกำจัดเพลี้ยหอย การกำจัดแมลงค่อมทอง การกำจัดแมลงศัตรูลำไย การกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดลำไย การตัดแต่งกิ่งลำไย การทำลำไยนอกฤดู การทำลำไยนอกฤดูการพ่นสารทางใบ การทำแคลเซียมโบรอน การทำให้ลำไยลูกโตผิวสวย การทำให้ลำไยออกดอก การปลูกลำไย การปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูลำไย การราดสารลำไยทางดิน การราดสารโปแตสเซียมคลอเรตทางดิน การใส่ปุ๋ยช่วงแทงช่อดอก การให้ปุ๋ยลำไย การให้ปุ๋ยลำไยเมื่อลูกผลเล็ก การให้ปุ๋ยลำไยในแต่ละช่วง ชาวสวนลำไยสะอื้น ดอกลำไยเป็นตัวเมียเยอะ บำรุงผลกลาง ประวัติความเป็นมาของลำไย ประโยชน์ของการแต่งกิ่งลำไย ประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน ปัจจัยทำที่ให้ลำไยออกดอกได้ดี พันธุ์ลำไย พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูก พันธุ์ลำไยลูกใหญ่ พันธุ์ลำไยอีดอร์ พ่นสารทางใบลำไย ราคาลำไยนอกฤดูไวรัสโควิค-19 ลำไยนอกฤดูกับผลตอบแทน ลำไยนอกฤดูออกดอกดี ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ลำไยออกดอกใส่ปุุ๋ย ลําไย พันธุ์สีชมพู ลําไยพันธุ์อีดอ วิธีตัดแต่งกิ่งลำไย วิธีเปิดตาดอก ลำไย สูตรเปิดตาดอกลำไย สูตรเปิดตาดอกลำไย 1 หนอนคืบลำไย หนอนคืบและวิธีกำจัด หนอนม้วนใบ หนอนเจาะผลลำไย ฮอร์โมนบำรุงลำไย ฮอร์โมนอาหารเสริม เทคนิคทำให้ลำไยเป็นดอกตัวเมียเยอะ เปิดตาดอก เปิดตาดอกลำไย เปิดตาดอกลำไยให้ออก เพลี้ยหอย เพลี้ยหอยและวิธีกำจัด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งและการกำจัด แคลเซียมโบรอน แมลงค่อมทอง โรคพุ่มไม้กวาด ใ่ส่ปุ๋ยลูกขนาดเบอร์บี