การพ่นสารทางใบ
การทำลำไยนอกฤดูการพ่นสารทางใบ
หลังจากที่เราได้ตัดแต่งกิ่ง และใบลำไยแตกยอดอ่อนมาสองรอบแล้ว และผ่านการบำรุงต้นเตรียมต้นสะสมอาหารมาเป็นอย่างดี จนใบลำไยแก่ทั่วทั้งต้นแล้ว พร้อมทีจะชักนำให้ลำไยออกดอกนอกฤดู โดยการสารใช้สารโพแตสเซี่ยมคลอเรต โดยใช้สูตรดังนี้
สูตรที่ 1. ใช้สารโพแตสเซี่ยมคลอเรต จำนวน 4 ขีด เทใส่ถัง 200 ลิตร เติมน้ำจนเต็มถัง คนจนสารละลาย ใช้เครื่องพ่น ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบทั่วทั้งต้น โดย ฉีดพ่น สี่ครั้ง ห่างกันทุก 3 วัน หลังจากพ่นสารครั้งสุดท้ายได้ 7-10 วัน พ่นด้วย ปุ๋ยสูตร 0-52-34 จำนวน 0.5 กก.+ แคลเซียม โบรอน 200 ซีซี + สังกะสี 100 ซีซี + ยาฆ่าแมลง 200 ซีซี + แอปซ่า 30 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรที่ ฉีดพ่นสองครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ก็สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ดี
สูตรที่ 2. ใช้ไทโอยูเรีย 1 กก. โซเดียม 1 กก. ปุ๋ยเกร็ด สูตร 0-52-34 จำนวน 1 ก.ก. เทใส่ถัง 200 ลิตร เติมน้ำจนเต็มคนจนทุกอย่างละลาย ใช้เครื่องพ่นฉีดพ่นทางใบให้ทั่วทั้งทรงพุ่ม ทั้งบนใบใต้ใบให้เปียก พ่นสองครั้ง ห่างกัน 7 วัน หลังจากพ่นสารครั้งสุดท้ายได้7-10 วัน พ่นด้วย ปุ๋ยเกร็ด สูตร 0-52-34 จำนวน 0.5 กก.+ แคลเซียม โบรอน 200 ซีซี + สังกะสี 100 ซีซี + ยาฆ่าแมลง 200 ซีซี + แอปซ่า 30 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรที่ ฉีดพ่นอีกสองครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ก็สามารถชักนำให้ลำไยออกดอกได้ดีเช่นกัน
ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำให้ชาวสวนประหยัดค่าใช้จ่ายไปมาก ประหยัดกว่าการใช้สารโปรแตสเชี่ยมคลอเรตราดทางดิน ข้อดีของการพ่นสารทางใบอีกอย่างก็คือ สะดวกรวดเร็วและลดต้นทุนในการซื้อสารโปรแตสเซียมคลอเรตลงได้มากกว่าการใส่สารทางดิน หลังจากที่เราพ่นสารทางใบ แล้วประมาณ 21 วันลำไยก็จะเริ่มแทงช่อดอกให้เห็น การแทงช่อดอก ช้าเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมบูรณ์ของต้นลำไยที่ได้รับการเตรียมต้นและสะสมอาหารมา.
ไทยโอยูเรีย และ โซเดี่ยม หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุการเกตรทั่วๆไป.
ผมพลาดมาหลายปีๆหน้าจะลองเอาสูตรนี้ไปใช้ดูนะครับ
ตอบลบ